เมนู

นั้นนั่น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว. บทว่า สจฺจรสํ ได้แก่
ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ 4. บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตมํ ความว่า
บรรเทา คือกำจัด ความมืด คือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้น ๆ. บทว่า
ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด. ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิ ศัพท์นี้
มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺญตฺติยํ ตถา
สพฺพญฺญุเต จ ญาณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน
ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.

จริงอย่างนั้น

โพธิ ศัพท์

มาในอรรถว่า มรรค ได้ในประโยคเป็น
ต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ ญาณในมรรค 4 เรียกว่า
โพธิ. มาในอรรถว่า ผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺญาย
สมฺโพธาย สํวตฺตติ
ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้
พร้อม. มาในอรรถว่า นิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํ
อสงฺขตํ
บรรลุพระนิพพาน อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
มาในอรรถว่า ต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา
จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ
ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ์. มาในอรรถว่า
บัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส
ปาเท สิรสา วนฺทติ
พระราชกุมารพระนามว่า โพธิ ถวายบังคมพระยุคล
บาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.
มาในอรรถว่า พระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติ
โพธึ วรภูริเมธโส
พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณ. แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า พระสัพพัญญุตญาณ
ลงในอรรถแม้ พระอรหัตมรรคญาณก็ควร. .